บอกได้เลยว่า บ้านที่สร้างกันไว้นานหลายปีนั้น มักมีปัญหาลายๆอย่างตามมา ที่ทำให้เจ้าของบ้านต้องแก้ไข ซึ่งปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่บางบ้านต้องพบเจอกันคือ ปัญหาบ้านทรุด ที่สร้างความอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัย โดยปัญหานี้มักเกิดจากความบกพร่องของเสาเข็มเอง เช่น เสาเข็มหัก, เสาเข็มชำรุด ดังนั้นบ้านที่อยู่มานานหลายสิบปีแล้วจึงค่อยเกิดการทรุดตัวนั้นจะต้องไม่ใช่เกิดขึ้นจากฐานรากของบ้านมีปัญหา แต่มักพบว่าเกิดขึ้นจากการต่อเติมอาคาร ไม่ว่าจะเป็นการต่อเติมด้านหลัง ด้านข้าง หรือเพิ่มจำนวนชั้นของบ้าน เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดปัญหาทั้งสิ้น ด้วยเหตุที่การต่อเติมบ้านมักจะไม่สามารถใช้เสาเข็มยาวเท่ากับเสาเข็มของบ้านหลักได้เพราะพื้นที่ส่วนต่อเติมมีจำกัด ส่วนต่อเติมที่วางบนเสาเข็มสั้นจะทรุดตัวเกิดรอยแยกบริเวณตำแหน่งที่เป็นรอยต่อกับตัวบ้านหลัก และถ้าหากมีการเชื่อมส่วนต่อเติมเข้ากับตัวบ้านหลักด้วยแล้ว การทรุดตัวของส่วนต่อเติมจะดึงบ้านหลักให้ทรุดตัวตามไปด้วย หากการทรุดตัวเกิดขึ้นต่อเนื่องไม่ได้ทำการแก้ไข เสาเข็มจะบิดหักไม่สามารถแบกรับน้ำหนักของตัวบ้านได้ต่อไป
ต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิด ปัญหาบ้านทรุด
ระบบรากฐานของบ้านเป็นสิ่งที่เราจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เป็นส่วนที่จะต้องรับน้ำหนักทั้งหมดของบ้านทั้งหมด เสาเข็มจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการก่อสร้าง เราต้องคำนึงถึงหลายๆ จุดในทำเลที่จะก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของพื้นดิน จำนวนชั้นของอาคาร การทรุดตัวจะไม่อันตรายมาก หากทุกส่วนทรุดลงพร้อมกัน แต่ถ้าหากเป็นด้านใดด้านหนึ่ง จะทำให้เกิดความเสี่ยงตามมา
การต่อเติม ดัดแปลง บ้าน บ้านที่ซื้อจากโครงการขายบ้าน คอนโด หรือ อาคารใหม่ โดยไม่มีความรู้ จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะส่งผลให้รากฐานรับน้ำหนักไม่สมดุล และตามมาด้วยการทรุดตัว ไม่ว่าจะเป็นการทรุดร้าวธรรมดา ไปจนถึงการทรุดที่ทำให้บ้านเอียงตัวลง การเกิดขึ้นในลักษณะนี้อาจจะทำให้บ้านทรุดหนักและพังทลายลงมาได้ นอกจากนี้ คุณภาพของเสาเข็มยังเป็นตัวการที่ทำให้บ้านไม่คงทนถาวร บางหลังเสาเข็มเกิดการแตกร้าวภายใน ทรุดตัว หัก ชำรุด หรือแม้กระทั่งการสูญเสียสมดุลไปจากเดิมหรือมีการเอียงตัว ตัวบ้านจะเริ่มเกิดรอยร้าว และที่สำคัญเราจะทราบได้ก็ต่อเมื่อการก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปัญหาฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน
กรณีฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากันอาจมีสาเหตุมาจาก เสาเข็มวางอยู่บนดินต่างชนิดกัน เสาเข็มบกพร่องแตกหัก หรือ เสาเข็มเยื้องตำแหน่งกับเสาบ้าน ด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งนี้ฐานรากในบ้านจะทรุดตัวแตกต่างกันแล้วทำให้เกิดการแตกร้าว การทรุดตัวที่เกิดขึ้นนี้ต้องแก้ไขด้วยการเสริมเสาเข็มในฐานรากที่พบความบกพร่อง การแก้ไขควรมีวิศวกรกำกับดูแลและทำการวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขทั้งหมด โดยสรุปคือ
- การต่อเติมบ้านโดยใช้เสาเข็มสั้นเป็นเหตุให้บ้านเกิดการแตกร้าวได้ และขั้นรุนแรงอาจดึงตัวอาคารหลักให้ทรุดตัวจนถึงขั้นแตกร้าววิบัติได้
- ถ้าเกิดเหตุดินรอบบ้านยุบตัว ขั้นแรกควรตรวจดูบ้านว่าแตกร้าวหรือทรุดเอียงหรือไม่ หากไม่แตกร้าวหรือทรุดเอียง สบายใจได้ในลำดับแรกว่าเสาเข็มของบ้านวางอยู่บนเสาเข็มที่มีความยาวเพียงพอ หากแตกร้าวแสดงว่าเสาเข็มแบกทานน้ำหนักบ้านไม่ไหวด้วย ลำดับถัดไปเสนอแนะให้แก้ไขดังนี้
o ทำแผงกันดินลึกประมาณ 50-80 เซนติเมตรรอบบ้านตลอดแนวคานคอดิน แผงที่ใช้อาจเป็นคอนกรีตยึดติดกับคานคอดิน แต่ต้องติดแผ่น metal sheet ผิวเรียบที่แผงป้องกันดินไหลด้วย เพื่อไม่ให้ดินรอบบ้านดึงแผงคอนกรีตลงขณะที่เกิดการยุบตัวเพิ่ม
o ถมดินตามระดับที่ต้องการด้วยวัสดุคัดเลือกที่เหมาะสมในการบดอัด และทำการบดอัดให้แน่นทุก 30 เซนติเมตร ระดับของดินถมไม่ควรให้สูงเกินกว่าระดับดินที่เคยถมไว้เดิม
o พื้นของลานจอดรถควรเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนเสาเข็มสั้นที่ตอกลงดินแบบปูพรม ระยะห่างระหว่างเสาเข็ม 1.00 – 1.50 เมตร เสาเข็มมีความลึก 4 – 6 เมตร ทั้งนี้เพื่อให้ลานจอดรถทรุดตัวตามดินที่ยุบตัวอย่างเป็นระเบียบ
สำหรับบ้านที่แตกร้าวเพราะฐานรากทรุดตัวต่างระดับกันนั้น ควรทำการแก้ไขด้วยการเสริมเสาเข็ม แต่ก่อนเสริมเสาเข็มควรสำรวจการทรุดตัวของบ้านทั้งหลัง วิเคราะห์สาเหตุการทรุดตัวให้แน่นอน ซึ่งควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของวิศวกร