แนวคิดของนวัตกรรมบ้านลอยน้ำ
เหตุการณ์น้ำท่วมในเมืองไทย ถือได้ว่าเกิดขึ้นในทุกๆปีเป็นเวลามาช้านาน ในทุกพื้นที่หลายจังหวัด ทำให้ประชาชนต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์น้ำท่วมให้ได้ ด้วยวิธีต่างๆ หนึ่งในนั้นเริ่มมีภายหลังคือ บ้านลอยน้ำ ที่สามารถใช้งานได้เงิน และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน
โดยหลักสถานการณ์น้ำท่วมมีการแก้ไขอยู่หลายแบบ ทั้งในเรื่องผังเมืองและการใช้ที่ดินต้องใช้ระยะเวลานาน การใช้ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำจะป้องกันน้ำหลากได้ยากเพราะเป็นธรรมชาติของการไหลของน้ำ การเกิดสภาวะโลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และการตัดไม้ทำลายป่า ความต้องการของการปรับปรุงเปลี่ยน-แปลงที่ดิน โดยการถมที่และยกที่ดินให้สูงขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการกีดขวางทางน้ำ
ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำท่วมและนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก รวมทั้งสมาชิกขององค์การสิ่งแวดล้อมในประเทศอังกฤษ (UK) และหน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา (USA) ต่างยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้เกิดความถี่ของอุทกภัยหรือน้ำท่วมเพิ่มขึ้นในทั่วทุกมุมโลก ความรุนแรงในศตวรรษหน้าอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบบ้านป้องกันน้ำท่วม Flood-Proof House หรือ FPH ขึ้น เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยในช่วงน้ำท่วม และที่สำคัญที่สุดคือช่วยลดผลกระทบของน้ำท่วม ลดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยขั้นตอนที่นำไปสู่การออกแบบ FPH เริ่มต้นการวิจัยข้อมูลน้ำท่วมในปัจจุบัน เทคนิคต่างๆในการบรรเทาผลกระทบ และเทคโนโลยีใหม่ๆในการจัดการและรับมือน้ำท่วม
แนวคิดในการแก้ปัญหา พบว่าปัญหาน้ำท่วมที่มีระดับน้ำแปรปรวนตลอดเวลา มีทั้งระดับน้ำที่ขึ้นสูงและลงต่ำขึ้นลงเกือบทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถึงในช่วงระยะเวลาประมาณ 1 – 4 เดือนของฤดูน้ำหลาก ระดับน้ำมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับพื้นดินชื้นแฉะ ไปจนถึงระดับน้ำสูง 2 – 4 เมตร ดังนั้นบ้านจะต้องสะเทินน้ำสะเทินบก สามารถอยู่ด้วยตัวเองได้ ไม่ว่าระดับน้ำจะสูง ต่ำ หรือเพียงดินชื้นแฉะ บ้านจะต้องสามารถวางอยู่บนดินได้ ลอยอยู่บนน้ำได้ โดยกินระดับน้ำที่ต่ำ รวมถึงสามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยแรงคน 6 – 10 คน ได้
องค์ประกอบสําคัญของบ้านลอยนํ้า
- ทุ่นลอยน้ำเอนกประสงค์ (Multi-Functional Floating Cube) มีขายตามร้านก่อสร้างประเภทธุรกิจเรือนแพ
- ทุ่นลอยน้ำถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานทางน้ำที่หลากหลาย เหมาะสําหรับใช้ทํา ท่าเรือ แพ โป๊ ะริมตลิ่ง สวนน้ำ
- เกาะลอยน้ำ สะพานทางเดินข้ามแม่น้ำ คลอง หนองน้ำบึง ทะเลและการประยุกต์ ใช้งานอื่น
ขนาดของบ้านลอยนํ้า
ขนาดของบ้านลอยน้ำที่ได้ออกแบบขึ้นนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของขนาดวัสดุสําเร็จรูปที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด เพื่อให้เป็นการใช้วัสดุที่ คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทําได้ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ และทําการก่อสร้าง ได้ง่าย เนื่องจากมีระบบวิศวกรรมโครงสร้างเป็นรูปแบบอย่างง่าย ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านช่างในระดับทั่วไปก็จะสามารถดําเนินการก่อสร้างได้เอง ขนาดพื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้งบ้านลอยน้ำประมาณ 60 ตารางเมตรประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย 23 ตารางเมตร ส่วนทําอาหารห้องน้ำและซักล้าง รวม 37 ตารางเมตร
คุณสมบัติบ้านลอยน้ำ
- ได้รับการออกแบบให้มีความเสถียร (Stable) ไม่โยกโคลงเหมือนเรือ
- สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเองด้วยระบบต่างๆที่เสริมเข้าไป เช่น
- ระบบผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์ เก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่จ่ายไฟฟ้ากระแสตรง สำหรับไฟฟ้าแสงสว่าง และไฟฟ้ากระแสสลับสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป ได้แก่ เครื่องชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์ โทรทัศน์ ตู้เย็น และเตาไมโครเวฟ เป็นต้น
- ระบบน้ำดื่มเป็นระบบ Reverse Osmosis
- ระบบสุขาภิบาล เป็นระบบบ่อดักไขมันและกักเก็บของเสียแบบพกพา (Portable) นำไปถ่ายเทสู่ระบบสาธารณะ
- สามารถลอยน้ำและเคลื่อนที่ได้ในฤดูน้ำท่วม เมื่อน้ำลดสามารถเป็น Living Unit ที่อยู่ได้ด้วยตัวเองบนพื้นดินเช่นกัน
- มีน้ำหนักเบา ด้วยองค์ประกอบแผ่นโฟม และไฟเบอร์กลาสชนิดไม่ติดไฟและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- เป็นนวัตกรรมที่อยู่อาศัยแห่งยุคอนาคตที่ไม่ต้องพึ่งพาระบบสาธารณูปโภคของภาครัฐใช้ได้ในทุกสภาพภูมิอากาศลัก
- สามารถอยู่อาศัยได้ทั้งครอบครัว
- พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านลอยน้ำขนาดครอบครัว สามารถใช้เป็นพื้นที่ส่วนต่างๆดังนี้ ส่วนห้องนอน ส่วนห้องน้ำ ส่วนห้องครัว และส่วนสันทนาการ