ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา รถไฟฟ้า ถือเป็นระบบหนึ่งของ ประตูอัตโนมัติ ที่นำมาประยุกต์ในงานกับการใช้ที่สถานีรถไฟฟ้าทั้ง BTS. และ MRT. Platform Screen Doors (PSD) คือชื่อเต็มของ ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา ถือเป็นอุปกรณ์ในรูปแบบของประตูอัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารที่ยืนรอรถไฟฟ้าเข้าสถานี ในการป้องกันอุบัติเหตุ หรือสิ่งของ ตกหล่นจากชานชาลาลงสู่ทางวิ่งรถไฟฟ้า
คุณสมบัติ ประตูอัตโนมัติ กั้นชานชาลา
ทั้งยังสามารถช่วยควบคุมอุณหภูมิในสถานีที่ติดตั้งระบบปรับอากาศ เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป ระบบทำงานสัมพันธ์กับระบบประตูของขบวนรถ และระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งสามารถติดตั้งได้ตั้งแต่ก่อนเปิดใช้งานระบบรถไฟฟ้า หรือสามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้หลังจากเปิดใช้งานระบบรถไฟฟ้า โดยปัจจุบัน ประตูกั้นชานชาลา ใช้ในรถไฟฟ้าหลายระบบทั่วโลก
ความเดิมประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา
ประตูกั้นอัตโนมัติชานชาลา เกิดขึ้นครั้งแรกรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน “รถไฟฟ้า MRT” มีทั้งหมด 18 สถานี เป็น ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา แบบเต็มความสูง (Full Height Platform Screen Doors) ในปี 2003 และมีการติดตั้งในปี 2008 ที่สถานีมักกะสัน, สถานีท่าอากาศสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นประตูกั้นชานชาลาแบบเต็มความสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งทั้ง 2 สายนี้ ติดตั้งโดย Faiveley Transport ส่วนประตูแบบครึ่งความสูง (Half Height Platform Screen Doors) มีการติดตั้งครั้งแรกในปี 2012 ที่สถานีสยาม ของระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส และติดตั้งเพิ่มเติมในปี 2013 จำนวน 8 สถานี 20 ชานชาลา
รูปแบบของประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา
ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา แบบเต็มความสูง (Full Height-Platform Screen Doors)
ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา แบบเต็มความสูง จะติดตั้งเป็นชุดบานประตูบานเลื่อนอัตโนมัติ (Automatic Sliding Door, ASD) และแผงกระจกกั้น (Fixed Glass Panel, FGP) มีความสูงจากพื้น จนถึงฝ้าเพดานของชานชาลา โดยประตูกั้นชานชาลารูปแบบนี้ จะมีชุดมอเตอร์ขับเคลื่อน (Fixed Drive Panel, FDP) อยู่ด้านบนของบาน ประตูเลื่อนอัตโนมัติ (ASD) มักจะติดตั้งในสถานีที่มีระบบปรับอากาศ ต้องการควบคุมอุณหภูมิเพื่อมิให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักจนเกินไป ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงได้
ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา แบบกึ่งเต็มความสูง (Platform Edge Doors)
ประตูกั้นชานชานชาลา แบบกึ่งเต็มความสูง จะติดตั้งเป็นชุดบานประตูเลื่อน (Automatic Sliding Door, ASD) และแผงกระจกกั้น (Fixed Glass Panel, FGP) โดยมีความสูงจากพื้น จนถึงความสูงระดับความสูงสูงสุดของขบวนรถไฟฟ้า หรือสูงกว่าเล็กน้อย ประตูกั้นชานชาลารูปแบบนี้ จะมีชุดมอเตอร์ขับเคลื่อน (Fixed Drive Panel, FDP) อยู่ด้านบนของบานประตูเลื่อน (ASD) เช่นเดียวกับแบบแรก มักจะติดตั้งในสถานีที่ไม่มีระบบปรับอากาศ และต้องการการหมุนเวียนของอากาศภายในสถานี
ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา แบบครึ่งความสูง (Half Height-Platform Screen Doors)
ประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลา แบบครึ่งความสูง หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ประตูกั้นชานชาลาอัตโนมัติ (Automatic Platform Gates, APG) จะติดตั้งเป็นชุดบานประตูเลื่อน (Automatic Sliding Door, ASD) และแผงกระจกกั้น (Fixed Glass Panel, FGP) โดยมีความสูงจากพื้น จนถึงความสูงระดับความสูงระดับอกถึงระดับศีรษะของผู้โดยสาร ประตูกั้นชานชาลารูปแบบนี้ จะมีชุดมอเตอร์ขับเคลื่อน (Fixed Drive Panel, FDP) อยู่ด้านข้างของบานประตูเลื่อนอัตโนมัติ (ASD) มักจะติดตั้งในสถานีที่ไม่มีระบบปรับอากาศ หรือสถานีลอยฟ้า และต้องการการหมุนเวียนของอากาศภายในสถานี และทัศนียภาพบริเวณที่สวยงาม ไม่รกรุงรัง