อิฐบล็อค นาโน (Nano Block)
หรือ Thai Nano Eco Block เป็นนวัตกรรมการก่อสร้างแนวใหม่ ที่เปลี่ยนแนวคิดการสร้างบ้านเพื่อรับมือน้ำท่วม ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมการก่อสร้างใหม่ของไทย ที่เราสามารถทำได้เอง และมีต้นทุนที่ไม่สูงมาก โดยอิฐบล็อค นาโน ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ ช่วยเรื่องของวัสดุก่อสร้างที่สูง รวมทั้งแรงงานหายาก มีราคาแพง โดยวัสดุทั่วไปไม่สามารถรับมือกับภัยพิบัติต่างๆได้ทั้ง แผ่นดินไหว น้ำท่วม ความร้อน ความหนาว เป็นต้น ซึ่งอิฐบล็อค นาโน หล่อเป็นคอนกรีตแบบเปียก (Wet Process) เพื่อให้แข็งแรงทนทาน ไม่ดูดซึมน้ำ กันเสียงได้ดี ใช้วัสดุในท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหรือโรงงานขนาด ลักษณะตัวบล็อคเป็นเดือยด้านบนและล่าง ทำให้ง่ายในการก่อผนัง ช่วยรับแรงด้านข้างได้เป็นอย่างดี และ ตัวบล็อคออกแบบให้มีรูกลวงตรงกลาง ทำให้เป็นฉนวนกันความร้อนเพิ่มขึ้น หรือใส่วัสดุฉนวนกันความร้อนได้เพิ่มเติมที่มีราคาถูก
มารู้จักกับอิฐบล็อค นาโน (Nano Block)
อิฐบล็อค นาโน เป็นระบบการก่อสร้างแบบโมดูลล่าร์ (Modular Building Method) ซึ่งกำลังคิดค้นพัฒนาเช่นเดียวกับในประทศออสเตรเลีย เพื่อให้การก่อสร้างลดการเสียเศษวัสดุ ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ทำหน้าที่เป็นผนัง เสา คานคอดิน เสาเอ็น คานเอ็น ได้ในตัวเดียวกัน ซึ่งเป็นผนังรับแรง (Wall Bearing) ทำให้มีความแข็งแรงมากเป็นพิเศษกว่าระบบการก่อสร้างเสา-คาน ซึ่งเสียเวลา และต้นทุนสูงเกินไป ทำให้บ้านที่ก่อสร้างด้วยอิฐบล็อค นาโน ไม่ต้องมีเสาให้เกะกะสายตา วางเฟอร์นิเจอร์ได้ง่าย และสวยงามกว่า ด้วยการลดขบวนการทำงานก่อสร้างลง ทำให้บ้านก่อสร้างด้วยอิฐบล็อค นาโน จึงก่อสร้างได้ รวดเร็วกว่า แข็งแรงกว่า ประหยัดกว่า ในทุกกรณี การสร้างบ้านด้วยอิฐบล๊อคนาโนไม่ต้องมีเสาคานมารับน้ำหนัก เพราะอาศัยหลัก wall bearing system โดยใช้ผนังอาคารเป็นตัวรับน้ำหนักแทนที่น้ำหนักจะลงไปที่เสาคาน และตัวอิฐเองถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักได้ถึง 15 ตัน
จุดเด่นของการสร้างบ้านด้วยอิฐบล็อค นาโน ไม่ต้องมีเสาคานมารับน้ำหนัก เพราะอาศัยหลัก wall bearing system โดยใช้ผนังอาคารเป็นตัวรับน้ำหนักแทนที่น้ำหนักจะลงไปที่เสาคาน ซึ่งน้ำหนักจะเฉลี่ยลงไปที่ผนังโดยรอบ แล้วลงไปที่ฐานรากที่ทำเป็นฐานแผ่ด้านล่าง หากเกิดการทรุดตัวก็จะทรุดลงไปเท่าๆ กัน ซึ่งเป็นเทคนิคของการก่อสร้างสมัยแรกๆ ในแถบประเทศที่สร้างบ้านด้วยอิฐหรือดิน การสร้างด้วยวิธีนี้นิยมใช้ในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยเองพบได้ที่ วัดพระแก้วหรือพระบรมมหาราชวัง จะหมดปัญหาตัวผนังร้าวหรือตัวอาคารทรุดไม่เท่ากัน
ข้อจำกัดของการใช้อิฐบล๊อคนาโน
ด้วยตัวของวัสดุเอง การใช้ผนังเป็นตัวรับน้ำหนัก และความต้องการให้เจ้าของบ้านสามารถสร้างบ้านเองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเทคนิค การสร้างอิฐบล็อคนาโนอาจจะไม่เหมาะกับการสร้างอาคารที่สูงเกินกว่า 2 ชั้น หรือบ้านที่มีพื้นที่ใหญ่มาก เพราะจะเริ่มมีการคำนวณเรื่องการรับน้ำหนักและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ ทำให้การสร้างบ้านหลังใหญ่มากไม่อยู่ในวงเงินหกหลักต้นๆ อย่างที่ตั้งใจไว้
นอกจากนั้นการต่อเติมจากตัวผนังเดิมอย่างที่เราเคยชินกัน อาจจะไม่สามารถทำได้เพราะผนังอิฐบล็อคนาโนเป็นตัวรับน้ำหนักอาคาร ถ้ามีการเจาะ รื้อผนังบางส่วนออกจะกระทบกับการรับน้ำหนักตัวอาคารที่ทำไว้ตอนแรกได้ ยังมีการเจาะรู เพราะเนื้อคอนกรีตแข็งแรงมาก และถ้าจะใช้ก่อเป็นผนังภายในก็ต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะอิฐหนาถึง 20ซม. ถ้าก่อแล้วอาจจะทำให้ผนังบ้านดูหนาเทอะทะ กินพื้นที่บ้านไปไม่น้อย